วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สัตว์ในทะเลที่มีอัตราย

แมงกระพรุนกล่อง (ตัวต่อทะเล)
       แมงกะพรุน หรือ กะพรุน[1] (อังกฤษ: Jellyfish, Medusa) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก    
         แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน


แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส(Portuguese Man-of-War)
   แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หรือ แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส (อังกฤษ: Portuguese man-of-war, Portuguese Man o' War, Bluebottle) เป็นแมงกะพรุนชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Physalia physalis ที่ได้ชื่อเช่นนี้         
    เนื่องจากรูปร่างคล้ายหมวกของทหารเรือชาวโปรตุเกสในยุคกลาง หรือเรือรบของโปรตุเกสในยุคล่าอาณานิคมที่เรียกว่า "Man-of-war"มีรูปร่างสีฟ้าหรือสีม่วง มีหนวดยาว จัดอยู่ในวงศ์ Physaliidae และสกุล Physalia ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดเท่านั้น โดยปกติจะไม่พบในน่านน้ำไทย โดยจะพบในทะเลเปิดของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ทะเลเมดิเตอเรเนียน, มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย แต่จะอาจจะถูกกระแสน้ำพัดมาเกยตื้นหรือเข้าสู่น่านน้ำไทยได้ในบางฤดูกาล จัดเป็นแมงกะพรุนชนิดที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก เทียบเท่าแมงกะพรุนกล่องหรือแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) และเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกด้วย ซึ่งพิษนั้นจะทำลายระบบประสาท ผิวหนัง หัวใจ เมื่อถูกต่อยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างมาก ส่วนใหญ่ผู้ที่โดนพิษจะช็อค และหัวใจล้มเหลวก่อนที่จะกลับเข้าถึงฝั่ง วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ การใช้น้ำอุ่นมาล้างบริเวณที่ถูกพิษอย่างน้อย 30 วินาที ก่อนที่พิษจะเข้าสู่กระแสเลือด

ปลาหมึกยักษ์ Colossal squid, Antarctic giant cranch squid
   หนวดไม่เหมือนหมึกชนิดอื่นที่มีปุ่มดูดยาวเป็นแถวหรือมีฟันซี่เล็ก แต่มีทั้งปุ่มดูดและตะขอที่แหลมคม ลำตัวกว้างกว่า หนากว่า และหนักกว่าหมึกชนิดอื่น เชื่อว่ามีแมนเทิลที่ยาวกว่าหมึกชนิดอื่น แต่มีหนวดสั้นกว่าเมื่อเทียบตามสัดส่วน

จะงอยปากใหญ่ที่สุดในบรรดาหมึกที่รู้จักกัน มีขนาดและความแข็งแรงมากกว่าในหมึกสกุล Architeuthis และเชื่อว่า มีดวงตาที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสัตว์

ถิ่นอาศัยมีบริเวณหลายพันกิโลเมตร ตั้งแต่ทวีปแอนตาร์กติก ขึ้นไปทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้, ทางใต้ของทวีปแอฟริกา และทางใต้ของนิวซีแลนด์ กล่าวคือมีถิ่นอาศัยในมหาสมุทรทางตอนใต้ของโลกที่ล้อมรอบขั้วโลกใต้เป็นวงกลม


วงจรชีวิตของหมึกชนิดนี้เป็นที่รู้จักน้อยมาก เชื่อว่าล่าเหยื่อเช่น หนอนทะเลและหมึกชนิดอื่นในทะเลลึก โดยใช้แสงเรืองจากตัวเอง อาจกินปลาขนาดเล็ก เพราะชาวประมงจับได้ขณะจับปลาจิ้มฟัน

ยังไม่เคยมีการสังเกต การสืบพันธุ์ของหมึกชนิดนี้ แต่อนุมานได้จากลักษณะทางกายวิภาค ตัวผู้ไม่มี hectocotylus (หนวดในสัตว์ประเภทหมึกซึ่งใช้ปล่อยอสุจิไปในตัวเมีย) จึงคาดว่าใช้ ลึงค์ โดยสอดใส่อสุจิเข้าสู่ร่างกายของตัวเมียโดยตรง

เชื่อว่าศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญคือ วาฬสเปิร์ม ซึ่งซากวาฬจำนวนมากมีแผลบนหลัง คล้ายปุ่มดูดของหมึกขนาดใหญ่ และซากจะงอยปากหมึก ที่พบในกระเพาะของวาฬสเปิร์มแอนตาร์กติกที่อาศัยในมหาสมุทรตอนใต้ ถึง 14% เป็นของหมึกชนิดนี้ ทำให้อนุมานได้ว่ามีปริมาณ 77% ของน้ำหนักอาหารที่วาฬเหล่านี้ในบริเวณนั้นกิน มีสัตว์ชนิดอื่นอีกที่อาจกินหมึกชนิดนี้ในช่วงวัยต่างๆ ได้แก่ วาฬจมูกขวด, วาฬไพล็อต, แมวน้ำช้างขั้วโลกใต้, ปลาจิ้มฟันพาตาโกเนีย, ปลาฉลามขี้เซาแปซิฟิก และนกอัลบาทรอส โดยซากจะงอยปากจากตัวเต็มวัย พบได้แต่ในกระเพาะอาหารสัตว์ขนาดใหญ่พอจะล่าตัวเต็มวัยได้เท่านั้น เช่น วาฬสเปิร์ม และปลาฉลามขี้เซาแปซิฟิก ขณะที่นักล่าอื่นกินได้เพียงวัยอ่อน จากตัวอย่างไม่กี่ชิ้น โดยเฉพาะซากจะงอยปากที่พบในกระเพาะอาหารของวาฬสเปิร์ม จึงคาดว่า หมึกที่โตเต็มวัยน่าจะอาศัยที่ความลึกอย่างน้อย 2,200 เมตร ขณะที่ตัวที่ยังไม่โตเต็มที่อาศัยที่ความลึก 1,000 เมตรเป็นอย่างมาก



กุสตาฟ (อังกฤษ: Gustave) 
      เป็นชื่อเรียกของจระเข้เพศผู้ตัวหนึ่ง เป็นจระเข้แม่น้ำไนล์ (Crocodylus niloticus) ที่มีความยาวกว่า 20 ฟุต และหนักถึง 2,000 ปอนด์ ในปี ค.ศ. 2004 นับเป็นจระเข้ที่ได้รับการยืนยันว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นในทวีปแอฟริกา[1] ประมาณว่ากุสตาฟมีอายุถึงกว่า 60 ปีแล้ว

กุสตาฟ มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นจระเข้ที่สังหารและกินคนเป็นอาหาร เชื่อว่ากุสตาฟฆ่าและกินคนไปแล้วกว่า 300 คน ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานี้ นับเป็นสถิติจระเข้กินคนที่มากที่สุด[1] กุสตาฟอาศัยอยู่ในแม่น้ำรูซิซี ทางเหนือของทะเลสาบแทนแกนยิกา ในประเทศบุรุนดี นอกจากนี้แล้วกุสตาฟยังมีพฤติกรรมที่แปลกไปจากจระเข้ตัวอื่น ๆ คือ เมื่อฆ่าคนได้แล้ว ในบางครั้งจะไม่กินแต่จะทิ้งซากไว้อย่างนั้นเฉย ๆ บนฝั่ง [2]

และนอกจากนี้แล้ว กุสตาฟยังเคยมีพยานพบเห็นว่า มันได้โจมตีใส่ฮิปโปโปเตมัสขนาดโตเต็มที่กลางแม่น้ำ ซึ่งนับว่าอุกอาจมาก เพราะโดยธรรรมชาติแล้ว จระเข้จะไม่ทำร้ายฮิปโปโปเตมัส และเป็นฮิปโปโปเตมัสด้วยเองเสียอีกที่อาจกัดและทำร้ายจระเข้ที่ยังมีขนาดไม่โตเต็มที่อีกด้วย  กุสตาฟยังได้รับการกล่าวขานจากผู้คนว่า เป็นจระเข้ที่ฉลาดที่สุด เพราะเนื่องจากว่ามันได้ถูกตามล่าจากนักล่าสัตว์และพวกทหาร มันไม่เคยถูกจับเลยแม้แต่ครั้งเดียว (เว้นแต่จะถูกยิงที่หัว 1 นัดและสีข้างขวา 3 นัดจนเป็นแผลเป็น) มีอยู่เรื่องหนึ่งจากชาวบ้านว่า พวกชาวบ้านได้สร้างกรงขนาดใหญ่และเอาไปวางไว้ที่ริมแม่น้ำเพื่อที่จะจับเจ้ากุสตาฟ โดยใช้แพะเป็นเหยื่อล่อผูกติดเอาไว้กับกรงขัง แต่พอตอนเช้าของวันต่อมากลับปรากฏว่า กรงนั้นได้จมหายไปในแม่น้ำแล้ว เหยื่อเองก็หายไปด้วย             แต่อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่เหตุการณ์นั้น ไม่มีใครเห็นเจ้ากุสตาฟอีกเลย ทุกคนเชื่อกันว่า มันได้ไปหากินในแม่น้ำของป่าลึก เพื่อหนีจากการตามล่าของพวกนักล่าสัตว์และพวกทหาร ปัจจุบันยังเชื่อกันอีกว่า กุสตาฟยังมีชีวิตอยู่ และมีอายุมากราว ๆ ประมาณ 70-100 ปี

ปลาไหลมอเรย์ Moray eel, Moray 

ปลาไหลมอเรย์ หรือ ปลาหลดหิน (อังกฤษ: Moray eel, Moray) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล (Anguilliformes)มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่ นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด 

ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย


 








 หอยเต้าปูน Cone snail, Cone shell
    เป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีเปลือกห่อหุ้มอยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย จากสัตว์อื่น ๆ ในท้องทะเล มีเข็มพิษเป็นอาวุธ พิษของหอยเต้าปูนเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความซับซ้อนในโครงสร้างของพิษ อีกทั้งยังออกฤทธิหลากหลาย ทำให้ยากที่จะป้องกันได้ ซึ่งพัฒนาการนี้เองทำให้หอยเต้าปูนได้เปรียบสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น สามารถทำให้เหยื่อเป็นอัมพาตชนิดเฉียบพลันได้ภายใน 1/200 วินาที ความเร็วในการจู่โจมอยู่ที่ 1/4 วินาที
หอยเต้าปูนสายพันธุ์ Conus geographus ที่รู้จักกันชื่อ หอยบุหรี่ มีเข็มพิษที่ร้ายแรงมาก ถึงกับมีคำกล่าวว่า หากใครถูกเข็มพิษของชนิดนี้เข้า จะมีชีวิตอยู่ได้เพียงช่วงเวลา ของบุหรี่ 1 มวน ในสายพันธุ์ของเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ เข็มพิษจะสามารถเจาะทะลุถุงมือหรือชุดว่ายน้ำได้ พิษของมันจะทำให้ ปวด บวม ชา ในกรณีที่ร้ายแรง จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต สายตาพร่ามัว ระบบหายใจล้มเหลว ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดจะช่วยเยียวยาหรือรักษาพิษของหอยเต้าปูนได้
 พิษของหอยเต้าปูนมีชื่อว่า โคโนทอกซิน (conotoxins) เป็นหนึ่งในพิษที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ ที่ออกฤทธิต่อระบบประสาท ในหอยเต้าปูนแต่ละตัว จะสามารถสร้างพิษ ที่แตกต่างกันได้กว่า 100 ชนิด ซึ่งในพิษนี้จะมีสายโปรตีน (peptide) ที่สามารถยับยั้ง สารสื่อประสาทที่สำคัญหลายตัว ของสิ่งมีชีวิตได้ เมื่อสกัดเอาสายโปรตีนบางตัวออกมา นำมาวิจัยพัฒนาต่อ เป็นยาต่อต้านอาการเจ็บปวด ซึ่งมันจะไปหยุดยั้งเฉพาะความเจ็บปวดบางอาการเท่านั้น โดยที่ไม่ทำลายความรู้สึกทั้งหมด ในปัจจุบันสิ่งที่ใช้ระงับอาการเจ็บปวดคือ มอร์ฟีน แต่จากการทดลองพบว่า ยาที่สกัดจากพิษของหอยเต้าปูน มีประสิทธิภาพมากกว่ามอร์ฟีนถึง 1000 เท่า อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ในอาการเจ็บปวดบางกรณี ที่มอร์ฟีนไม่สามารถระงับได้อีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Serpent พญานาค และ ปลาออร์ Oarfish

ปลาออร์ Oarfish 
    มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพญานาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก โดยมีความยาวได้สูงสุดยาวถึง 9 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัม แต่ก็มีบันทึกไว้ในกินเนสส์ บุ๊ก ออฟ เวิร์ลด์ เรคคอร์ดด้วยว่า ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ ยาวที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึง 11 เมตร ในขณะที่รายงานไม่ยืนยันอีกบางกระแสระบุว่าอาจยาวถึง 15 เมตร หรือกว่านั้น มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้าและดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง บนหัวที่อวัยวะแลดูคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น
เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลลึกระหว่าง 50-250 เมตร จึงพบเห็นได้ยากมาก แต่มีผู้พบเห็นกันเป็นระยะ ๆ ในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เรื่อยไปจนถึงทะเลนอกชายฝั่งเม็กซิโก และแถบหมู่เกาะเบอร์มิวดา ส่วนใหญ่มักถูกคลื่นซัดออกมาเกยหาด หรือไม่ก็เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับปลา เช่น ป่วย หรือใกล้ตาย น้อยครั้งที่จะมีการพบเห็นขณะมีชีวิตอยู่
เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำร้ายมนุษย์ แม้จะมีรายงานไม่ยืนยันจากนักวิจัยในนิวซีแลนด์ที่ระบุว่าถ้าหากแตะไปที่ตัวของมันขณะยังมีชีวิตอยู่จะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาช็อตได้
      ปลาออร์เมื่อปรากฏตัวขึ้นมามักจะปรากฏเป็นข่าวครึกโครมอยู่เป็นระยะ ๆ ว่าเป็นพญานาคหรือสัตว์ประหลาด อาทิ ในกลางปี พ.ศ. 2539 ได้ปรากฏภาพถ่ายใบหนึ่งของกลุ่มทหารชาวอเมริกันอุ้มปลาชนิดนี้ แพร่กระจายกันทั่วไปในสังคมไทย ทำให้เกิดความเชื่อว่า นั่นเป็นพญานาคที่จับได้จากแม่น้ำโขง และเชื่อว่า ภาพถ่ายนั้นถ่ายที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในประเทศลาวและถ่ายมานานแล้วกว่า 30 ปี ในยุคสงครามเวียดนาม แต่แท้จริงแล้วเป็นภาพที่ถ่ายในค่ายทหารที่เกาะโคโรนาโด รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปีเดียวกันนั้นเอง และเป็นปลาที่อยู่จับได้ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทวีปอเมริกาใต้




Serpent พญานาค
     นาค หรือ พญานาค (อังกฤษ: Nāga, สันสกฤต: नाग) เป็นความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย
ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่
ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้น เล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในนำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม
         นาคเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ จึงปรากฏความเชื่อเรื่องนาคที่เกี่ยวกับน้ำไว้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
       ในตำนานสิงหนวัติ กล่าวว่า เมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติอพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืนก็ ขึ้นมาสร้างคูเมือง 4 ด้าน เป็น เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมาเมื่อยกทัพปราบเมืองอื่นได้ และรวมดินแดนเข้าด้วยกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนาคราช[[ไฟล์:
ที่ปราสาทพนมรุ้ง คูเมืองที่เป็นสระน้ำ 4 ด้าน รอบปราสาทและมี พญานาค อยู่ด้วย ตามความเชื่อของคนสมัยโบราณ ดังนั้น นาคจะมีความหมายเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากน้ำ เช่น การสร้างศาสนสถานไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ นาคที่ราวบันได จึงมี พญานาค ซึ่งตามความเป็นจริง (ความเชื่อ) การสร้างต้องสร้างกลางน้ำ เพื่อให้ดูเหมือนว่าศาสนสถานนั้นลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ก็ไม่ต้องสร้างจริงๆ เพียงแต่มีสัญลักษณ์ พญานาค ไว้ เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
แม้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ก็จะมีอยู่ในราศีเกิด เช่นของคนนักษัตรปีมะโรง ที่มีความหมายถึง ความยิ่งใหญ่และพลังอำนาจ ที่มี พญานาค เป็นสัญลักษณ์

นาคให้น้ำ

โขนเรือ (หัวเรือ) อเนกชาติภุชงค์ ซึ่งทำเป็นรูปหัวพญานาค ด้วยความที่นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ ดังนั้น คำเสี่ยงทายในแต่ละปีที่จะทำนายถึงปริมาณของน้ำและฝนที่จะตกในแต่ละปีเพื่อใช้ในการเกษตร จึงเรียกว่า "นาคให้น้ำ" จำนวนนาคให้น้ำมีไม่เกิน 7 ตัว ถ้าปีไหนอุดมสมบูรณ์มีน้ำมากเรียกว่า "นาคให้น้ำ 1 ตัว" แต่หากปีไหนแห้งแล้งเรียกว่าปีนั้น "มีนาคให้น้ำ 7 ตัว" จะวัดกลับกันกับจำนวนนาค ก็คือที่น้ำหายไป เกิดความแห้งแล้งนั้นก็เพราะ พญานาคเกี่ยงกันให้น้ำ แต่ละตัวจึงกลืนน้ำไว้ในท้องไม่ยอมพ่นน้ำลงมา ซึ่งคำทำนายเรื่องนาคให้น้ำนี้ จะปรากฏเห็นได้ชัดที่สุด คือ ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคลของแต่ละปี

ในประติมากรรมไทย

ในประติมากรรมไทย มักจะเห็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับนาคได้เสมอ ในงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และหัตถกรรม นาคเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะตามอาคารวัดต่างๆ หลังคาอาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถานบันศาสนสถาน ตามคตินิยมที่ว่า นาคยิ่งใหญ่คู่ควรกับสถาบันอันสูงส่ง เช่น นาคสะดุ้ง ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได นาคลำยอง ซึ่งเป็นป้านลมหลังคาโบสถ์ ที่ต่อเชื่อมกับนาคสะดุ้ง นาคเบือน นาคจำลอง และนาคทันต์ คันทวยรูปพญานาค อีกทั้งยังเป็นโขนเรือ (หัวเรือ) ในขบวนเรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค ในพระราชพิธีอีกด้วย อันได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์








แถมครับ


วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สัตว์น้ำเปลือกแข็งมีพิษชนิดแรก

ครัสเตเชียนชนิดแรกที่มีพิษ (บีบีซีนิวส์)
สัตว์น้ำเปลือกแข็งมีพิษชนิดแรก
การคนพบครั้งนี้รายงานในวารสารโมเลกูลาร์ไบโอโลจีแอนด์อีโวลูชั่น (Molecular Biology and Evolution) โดยสัตว์น้ำเปลือกแข็งหรือครัสเตเชียน (crustacean) ชนิดแรกที่มีพิษคือ เรมิพีด (remipede) หรือ สเปลีโอเนคเตส ทูลูเมนซิส (Speleonectes tulumensis) ซึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้ำของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะคานารี และออสเตรเลียตะวันตก และกินครัสเตเชียนชนิดอื่นเป็นอาหาร
      
       พิษของครัสเตเชียนใต้น้ำชนิดนี้มีส่วนผสมของสารพิษอยู่หลายชนิด ทั้งเอนไซม์และสารที่ทำให้อ่อนแรง มันจะทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายเหยื่อด้วยพิษของตัวเอง แล้วดูดกินเนื้อเหลวๆ ของเหยื่อที่มีกระดูกภายนอก (exoskeleton)
      
       ด้าน ดร.โรนัลด์ เจนเนอร์ (Dr.Ronald Jenner) นักสัตววิทยาจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในลอนดอน (Natural History Museum) อังกฤษ ผู้ร่วมเขียนรายงานการค้นพบครั้งนี้ กล่าวว่า ความเข้าใจอย่างลึกลึ้งถึงลักษณะจำเพาะจากการศึกษาครั้งนี้ ช่วยพัฒนาความเข้าใจของเราที่มีต่อวิวัฒนาการของสัตว์มีพิษ ซึ่งลักษณะการกินเหยื่อคล้ายแมงมุมนี้เป็นเทคนิคที่โดดเด่นจากสัตวืครัสเต เชียนอื่นๆ
      
       “การมีพิษนี้เป็นการปรับตัวที่ยอดเยี่ยมจริงๆ สำหรับสัตว์ถ้ำตาบอดที่อาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้ำที่มีขาดแคลนอาหาร” ดร.เจนเนอร์ให้ความเห็น
      
       
นักวิจัยพบครัสเตเชียนมีพิษนี้ในถ้ำใต้น้ำ (บีบีซีนิวส์)
ทั้งนี้ ครัสเตเชียนเป็นสัตว์กลุ่มใหญ่ที่ถูกจัดเป็นชั้น (class) หนึ่งสัตว์ในไฟลัมอาร์โธรพอดส์ (arthropods) หรือสัตว์ขาปล้อง โดยสัตว์ในชั้นนี้ยังมีสัตว์ที่เราคุ้นเคยอย่างกุ้ง เคอย (krill) กุ้งมังกร (lobster) และปู แต่มีไม่กี่ชนิดที่อาศัยอยู่บนบก อย่างเช่นตัวกะปิ (woodlice) เป็นต้น
      
       ส่วน ดร.บียอร์น วอน รอยมอนท์ (Dr.Bjoern von Reumont) จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเช่นกัน ให้ความเห็นว่า เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นการใช้พิษใยสัตว์ครัสเตเชียน และการศึกษานี้ได้เติมสัตว์กลุ่มใหญ่ชนิดใหม่ เข้าในบัญชีรายชื่อสัตว์มีพิษที่เรารู้จัก
      
       รอยมอนท์กล่าวว่า สัตว์มีพิษนั้นเป็นพบได้ทั่วไปในสัตว์กลุ่มใหญ่ของอาร์โธรพอดส์ 3 ใน 4 กลุ่ม อย่างเช่นแมลงต่างๆ แต่สำหรับสัตว์ในกลุ่มครัสเตเชียนดูจะเป็นข้อยกเว้น โดยจนถึงทุกวันนี้สัตว์ในชั้นครัสเตเชียนที่มีราวๆ 70,000 สปีชีส์ ตั้งแต่ ไรน้ำ เคอย ปู และตัวเพรียง ไม่มีตัวใดเลยที่เป็นสัตว์มีพิษ





ที่มา Manager Online

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปลาพญานาค

"ปลาออร์ฟิช" หรือ "ปลาพญานาค" ปลาน้ำลึกที่ไม่พบได้นัก เกยตื้นที่ชายหาดแคลิฟอร์เนีย ถึง 2 ครั้ง
  
   ไลฟ์ไซน์รายงานถึงปรากฏการณ์ที่ปลาออร์ฟิช (oarfish) หรือปลาพญานาคเกยตื้นติดๆ กันถึง 2 ตัวในเวลาอาทิตย์เดียว
     
       ครั้งแรกเป็นเหตุการณ์ที่อาจารย์วิทยาศาสตร์บนเกาะคาตาไลนา (Catalina Island) ทางแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ได้ลากซากออร์ฟิชยาว 5.5 เมตรที่ลอยอยู่ห่างจากชายฝั่งขึ้นมา เมื่อ 13 ต.ค.2013 ตามเวลาท้องถิ่น
     
       ห่างมาไม่ถึงสัปดาห์รายงานจากลอสแองเจลลิสไทม์สระบุว่า ซากปลาออร์ฟิชยาว 4 เมตรได้เกยตื้นที่โอเชียนไซด์ (Oceanside) ทางตอนเหนือของซานดิเอโอ เมื่อ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา
     
       ทั้งนี้ เชื่อว่าปลาออร์ฟิชซ่อนตัวอยู่ใต้ทะเลลึกประมาณ 915 เมตร และยากจะพบปลาชนิดนี้ใกล้ชายฝั่ง โดย เจฟฟ์ เชซ(Jeff Chace) จากสถาบันทางทะเลคาทาไลนาไอส์แลนด์ (Catalina Island Marine Institute) อธิบายแก่อาวเออร์อะเมซิงพลาเนตของไลฟ์ไซน์ว่า ปกติปลาชนิดนี้จะขึ้นมาชายฝั่งเมื่อพวกมันป่วยหรือตายเท่านั้น สำหรับตัวอย่างปลายาว 5.5 เมตรที่เกยตื้นบนเกาะคาทาไลนานั้น ดูเหมือนจะตายเนื่องจากสาเหตุธรรมชาติ 
  ซากปลาออร์ฟิชยาว 4 เมตรได้เกยตื้นที่โอเชียนไซด์ (Oceanside) ทางตอนเหนือของซานดิเอโอ เมื่อ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา
       ก่อนหน้า 2 เหตุการณ์มีเหตุปลาออร์ฟิชขนาดใหญ่ที่ยาวถึง 7 เมตรถูกพบโดยหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ เมื่อปี 1996 บริเวณชายฝั่งโคโรนาโด และเมื่อ 2 ปีก่อน นักวิจัยที่ติดตั้งกล้องเพื่อศึกษาระบบนิเวศใต้น้ำในอ่าวเม็กซิโกก็จับภาพหา ยากของปลาออร์ฟิชขณะมีชีวิตได้

New New electric fish

เจอปลาไฟฟ้าสกุลใหม่คล้ายปลาไหลไฟฟ้า
     นักวิทยาศาสตร์นานาชาติเจอปลาไฟฟ้า สกุลใหม่หน้าตาคล้ายปลาไหล หลังค้นพบในแม่น้ำอันห่างไกลทางตอนเหนือของกายยานา ซึ่งตัดขาดจากอเมริกาใต้มานานกว่า 30 ล้านปี
     ศ.นาธาน เลิฟจอย (Nathan Lovejoy) จากมหาวิทยาลัยโตรอนโตสการ์บอรอฟ (University of Toronto Scarborough) ในแคนาดา และทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ได้จำแนกปลาไฟฟ้าจากแม่น้ำอันห่างไกลในอเมริกาใต้ ซึ่งยังไม่เคยมีใครรู้จักสกุลมาก่อน
      
       ปลาดังกล่าวคือ อะกาไวโอ พีแนค (Akawaio penak) เป็นปลาไฟฟ้าที่พบในแหล่งน้ำตื้นขุ่นๆ ทางตอนบนของแม่น้ำมาซารูนี (Mazaruni River) ที่อยู่ตอนเหนือของกายยานา โดยทีมของเลิฟจอยที่มหาวิทยาลัยได้วิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อของปลาดัง กล่าว ระหว่างการเดินทางออกสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งนำคณะโดย เฮอร์นัน โลเปซ-เฟอร์นันเดซ จากพิพิธภัณฑ์หลวงออนทาริโอ (Royal Ontario Museum)
      
       ไซน์เดลีรายงานว่า จากการลำดับดีเอ็นเอและสร้างสาแหรกวิวัฒนาการขึ้นมาใหม่ ทีมของเลิฟจอยก็ได้พบว่า ปลาชนิดนี้เป็นสกุลใหม่อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการจำแนกทางอนุกรมวิธานในระดับที่สูงกว่าสปีชีส์ (species) หรือชนิดพันธุ์ โดยทางตอนบนของแม่น้ำมาซารูนีนั้นเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่าง ชุกชุม ซึ่งยังไม่มีการสำรวจอีกมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกล โดยบริเวณดังกล่าวมีแม่น้ำหลายสายอย่างนับไม่ถ้วนอยู่ทางตอนบนของที่ราบซึ่ง ตัดขาดจากส่วนอื่นๆ ของอเมริกาใต้มานานกว่า 30 ล้านปี
      
       “ความจริงที่ว่าบริเวณนี้ห่างไกลและตัดขาดจากโลกภายนอกมานานเช่นนี้ นั่นหมายความว่าคุณน่าจะได้เจอสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่” เลิฟจอยกล่าว
      
       อะกาไวโอ พีแนค เหมือนกับปลาตองไฟฟ้า (electric knifefish) อื่น ที่มีอวัยวะยาวไปตามฐานของร่างกายที่ผลิตสนามไฟฟ้าได้ แต่สนามไฟฟ้าของปลาสกุลใหม่นี้อ่อนเกินกว่าจะทำให้เหยื่อสลบ ซึ่งมันก็ใช้เพื่อนำทางและตรวจจับวัตถุ รวมทั้งใช้สื่อสารกับปลาไฟฟ้าอื่นๆ แทน ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวเหมาะแก่แหล่งอาศัยที่เป็นน้ำขุ่น
      
       ชื่อของปลาชนิดนี้ตั้งชื่อตาม อะกาไวโอ (Akawaio) ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียแดงซึ่งอาสัยอยู่ทางตอนเหนือของมาซารูนี โดยในแถบภูมิภาคดังกล่าวกำลังได้รับผลกระทบจากถิ่นอาศัยน้ำจืดที่ลดลง เนื่องจากการทำเหมืองทองคำในบริเวณนั้น
      
       “มาซารูนีมีสปีชีส์จำเพาะอยู่มาก ซึ่งพบไม่พบในที่อื่นของโลก มันเป็นพื้นที่สำคัญอย่างยิ่งในอเมริกาใต้ในแง่ของความหลากลหายทางชีวภาพ” เลิฟจอยกล่าว โดยผลของการค้นพบครั้งนีได้ตีพิมพ์ลงวารสารซูโลจิกาสคริปตา (Zoologica Scripta)